เมนู

5. ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส
ธรรมและธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว ย่อม
ยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น
ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรา-
มาสธรรม ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น
ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
6. ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม
เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ มี 3 วาระ.

3. อธิปติปัจจัย


[678] 1. ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

คือ เพราะกระทำปรามาสธรรมทั้งหลายให้เป็นอารมณ์ อย่างหนัก
แน่น ปรามาสธรรม ฯลฯ มี 3 วาระ พึงกระทำ อารัมมณาธิปติ อย่างเดียว
4. ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย


มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรมแล้ว.
กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา,
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ ผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก้มรรค, แก่ผล,
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรมให้เป็นอารมณ์หนักแน่น ครั้นกระทำจักษุ
เป็นต้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ.
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทย-
วัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ทิฏฐิ ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรมเป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส
ธรรมและธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถธรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทย-
วัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น

กระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ปรามาสธรรม และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ปรามาสธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
7. ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม
เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ปรามาสธรรม ฯลฯ มี 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9)

4. อนันตรปัจจัย


[679] 1. ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม ที่เกิด
หลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 2)
ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาส
ธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล. (วาระที่ 3)